การนอนหลับในเด็กทารก

เด็กทารกทั่วไปยังไม่สามารถเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างเวลากลางวันหรือเวลากลางคืน พวกเขาจะนอนหลับตลอดทั้งวันแต่ท้องน้อยๆของพวกเขาไม่สามารถเก็บนมแม่ได้มากเพียงพอ ทำให้พวกเขาต้องตื่นขึ้นมากินนมแม่บ่อยๆ โดยที่ไม่สนใจว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน

เด็กทารกนอนนานแค่ไหน
โดยทั่วไปเด็กทารกอาจจะใช้เวลานอนมากถึง 18 ชั่วโมงใน 1 วัน โดยที่ภายในไม่กี่ชม.จะตื่นขึ้นมากินนม ในหนึ่งวันนั้นเด็กที่กินนมแม่อาจจะต้องกิน 8 – 12 ครั้งเลย แต่เด็กที่กินนมจากขวดมีแนวโน้มว่าความถี่จะต่ำกว่าเด็กที่กินนมแม่ อาจจะ 3 –  4 ชม.จะตื่นขึ้นมากินนม 1 ครั้ง

ในช่วงนี้เด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าความต้องการในการนอน ดังนั้นเด็กที่นอนนานหลายชั่วโมงควรถูกปลุกขึ้นมากินนม อาจจะปลุกเขาเพื่อมากินนมทุก 3 – 4 ชั่วโมง และสังเกตว่าน้ำหนักขึ้นได้ตามเกณฑ์ปกติดีไหม ถ้าทุกอย่างเริ่มเข้าที่เราก็สามารถปล่อยให้เด็กนอนได้นานขึ้น

เด็กทารกมีวงจรการนอนหลับเหมือนผู้ใหญ่ทั่วไป  คือ ง่วงนอน, REM (Rapid Eye Movement), นอนหลับ, นอนหลับสนิท และนอนหลับสนิทมาก ในช่วงเดือนแรกๆของพวกเขาอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ลำบากที่สุดของคุณพ่อคุณแม่เพราะต้องตื่นกลางดึกหลายครั้งในช่วง 1 คืน เด็กทารกแต่ล่ะคนก็มีรูปแบบการนอนหลับที่ต่างกัน เด็กบางคนสามารถนอนหลับได้นานในช่วงกลางคืน 5 – 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนที่จะเป็นแบบนั้น

ในอาทิตย์แรกที่เด็กทารกนอนที่บ้าน พ่อแม่บางคนเลือกที่จะให้นอนในห้องเดียวกับพวกเขาเลยเพื่อที่จะได้ดูแลลูกได้อย่างสะดวก โดยที่จะเอาเด็กนอนในเตียงเด็กที่อยู่ใกล้ๆที่นอนของคุณพ่อคุณแม่ บางครอบครัวก็เลือกที่แยกห้องนอนตั้งแต่แรกเลย การที่เอาเด็กทารกมานอนในห้องเดียวกับคุณพ่อคุณแม่นั้นเป็นเรื่องที่ปลอดภัยยกเว้นเอามานอนด้วยบนเตียงของคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากอาจจะเกิดปัญหาเมื่อเวลาคุณพ่อหรือคุณแม่เหนื่อยมากๆแล้วนอนหลับไม่รู้สึกตัวอาจจะไปทับลูกของตัวเองได้ อาจจะทำให้เด็กขาดอากาศหายใจและเสียชีวิต และในการศึกษาสถิติแล้วพวกว่าเด็กทารกทีเสียชีวิตจาก SIDS (Sudden infant death syndrome) เกิดขึ้นในขณะที่นอนเตียงเดียวกับพ่อแม่ของตัวเอง

ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยในการนอนหลับของเด็กทารก

  • ควรให้พวกเขานอนหงาย จะลดความเสี่ยงจากการที่เด็กเสียชีวิตจากโรค SIDS เนื่องจากถ้าเด็กนอนคว่ำ ในเด็กบางคนคอยังไม่แข็งแรงทำให้เขาไม่สามารถหันศีรษะได้ดีพอ อาจจะทำให้พวกเขาหายใจไม่สะดวก หรือหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไป ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค SIDS
  • เช็คอุปกรณ์ที่กั้นเตียงของพวกเขาว่าแข็งแรงดีพอ
  • ห้ามเอาสิ่งของต่างๆเข้าไปวางในเตียงเด็ก เช่น ของเล่น ตุ๊กตา ผ้าห่ม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจจะไปปิดหน้าของเด็กทำให้เด็กหายใจลำบาก หรือหายใจไม่ได้ พวกอุปกรณ์ที่เป็นสายเช่น สายไฟ ริบบิ้น ก็เช่นเดียวกันเพราะอาจจะไปพันคอของเด็กทำให้หายใจลำบากได้เช่นเดียวกัน

ทำอย่างไรที่จะช่วยให้พวกเขานอนหลับได้ดีในเวลากลางคืน
ก่อนนอนควรอาบน้ำ เล่านิทานหรือร้องเพลงกล่อมพวกเขา จะช่วยให้เด็กทารกรู้สึกผ่อนคลายและนอนหลับได้ดี ถึงแม้ว่าตอนนี้พวกเขาจะยังไม่ค่อยรู้เรื่องหรือเวลา แต่การที่ทำอย่างนี้ทุกครั้งก่อนนอนจะค่อยๆสอนให้พวกเขาเข้าใจว่าตรงนี้คือที่นอนของพวกเขา

ถ้าเด็กงองแงเราสามารถไกลเปล หรืออุ้มและร้องเพลงให้เขาฟังเพื่อที่จะให้พวกเขาสงบได้ ในเดือนแรกๆการที่เราอุ้มเด็กบ่อยๆไม่ใช่ปัญหา (มีการศึกษาว่า เด็กที่ถูกอุ้มบ่อยๆ ในช่วงกลางวัน จะงองแงน้อยกว่า)
มันต้องใช้เวลาระยะหนึ่งที่จะทำให้สมองของเด็กเข้าใจความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน และมันก็ไม่มีวิธีใดที่จะเร่งทำให้เพวกเขาปรับตัวได้เร็วขึ้น ลองปรับลดแสงไฟในห้องนอนและพยายามอย่าเล่นหรือคุยกับเด็กในเวลานอนของพวกเขา สิ่งนี้จะทำให้พวกเขาเข้าใจว่าเป็นเวลานอน

ที่สำคัญอย่าพยายามที่จะไม่ให้ลูกได้นอนในช่วงกลางวันเพื่อที่จะนอนในช่วงกลางคืนมากๆ การทำเช่นนี้ทำให้เด็กรู้สึกเหนื่อยมากและก่อให้เกิดปัญหากับการนอนหลับมากกว่าเด็กที่นอนในเวลากลางวันอย่างเต็มที่

์Note: ในช่วงเวลากลางคืน หากเมื่อถึงเวลากินนมแล้วปลุกให้เด็กตื่นขึ้นมายากหรือพวกเขาไม่ยอมกินนม ควรพาไปพบแพทย์